ECOBLUE window Film has the most advanced solar spectrum filtering properties. More...
MAX-ECB Series
Special edition of ECOBLUE window film which is available only at "auto center". ECB series offers high heat protection than general metallic and ceramic window film. By reducing heat radiation from sunlight (infrared) by up to 95%, you will feel cooler and comfortable at once sitting in the car.
MAX-NEV Series
ECOBLUE MAX-NEV is a economical film with nano carbon combined with inorganic ceramic. ECOBLUE MAX-NEV is suitable for users requiring better heat reduction efficiency than ordinary window film but affordable cost. ECOBLUE MAX-NEV reduces infrared up to 90% with high protection of UV radiation. This special film is available through car distributor and accessories shop network nation wide.
MAX-HT Series
ECOBLUE MAX-HT is the innovative window film designed specially for users who want the latest thermal protection performance. With advanced technology combining mulatilayers metallic molecules and systhesis nano-titanium ceramic layers up to 9 layers with magnetron sputtering process, ECOBLUE MAX-HT is a high-heat reduction film that maintains greater clarity and durability, superior to other conventional ceramic films.
MAX-VK Series
ECOBLUE MAX-VK is the best technology of window film from ECOBLUE. With the innovation of "12 layers of hybrid Silver molecules coating, ECOBLUE MAX-VK is the only film that can truely reflects the heat radiation higher than 30%", reducing infrared 97%. If you are looking for the best window film, ECOBLUE MAX-VK is the answer.
ในตลาดมีฟิล์มหลากหลายชนิด โดยทั่วไปแบ่งได้คือ
ฟิล์มย้อมสี ฟิล์มโลหะทั่วไป และฟิล์มเซรามิคอื่นๆ
ฟิล์มโลหะทั่วไปผลิตจากโลหะเช่น อลูมิเนียม นิกเกิ้ลหรือบรอนซ์ ซึ่งฟิล์มโลหะเหล่านี้สามารถผลิตให้สามารถลดความร้อนสูงได้แต่จะมีเงาสะท้อนสูงและค่อนข้างมืด รวมทั้งอาจรบกวนสัญญาณสื่อสารได้ด้วย ส่วนฟิล์มเซรามิคไม่มีเงาสะท้อน ความสามารถในการลดความร้อนจะขึ้นกับคุณสมบัติของฟิล์มว่ามีค่าการลดรังสีอินฟาเรดมากน้อยเท่าไหร่ เช่น ลดรังสีอินฟาเรดน้อยกว่า 80% ซึ่งทำให้ผู้ใช้มีความรู้สึกว่ายังลดความร้อนได้น้อย ฟิล์มเซรามิค ECOBLUE จะเป็นฟิล์มที่มีค่าการลดรังสีอินฟาเรดในแต่ละรุ่นมากกว่า 90% เป็นต้นไป เงาสะท้อนต่ำ ไม่มีปัญหาเรื่องรบกวนสัญญาณ (ยกเว้นบางรุ่น) สามารถเลือกความเข้มของฟิล์มได้หลากหลาย เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้จะได้รับความสบายตลอดเวลาในการใช้งาน
ฟิล์มเซรามิคมีหลากหลายประสิทฺธิภาพ ถ้าสว่างเท่ากัน ฟิล์มเซรามิคที่มีค่าการลดรังสีอินฟาเรดมากกว่า จะให้ความรู้สึกที่เย็นกว่า แต่ไม่สามารถบอกความแตกต่างนี้ได้ด้วยตาเปล่า เบื้องต้นสามารถใช้สเปกโตโฟเตอร์มิเตอร์แบบพกพา วัดค่าการลดรังสีอินฟาเรดที่บางค่า ( 900,1400 nm) ฟิล์มเซรามิค ECOBLUE จะเป็นฟิล์มที่มีค่าการลดรังสีอินฟาเรด มากกว่า 90% ทำให้รู้สึกเย็นทุกขณะการขับขี่ ( ค่าคุณสมบัติอื่นๆ ปรึกษาผู้จำหน่าย )
รังสีอินฟาเรดเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งในแสงแดดที่มาจากดวงอาทิตย์ พร้อมๆกับคลื่นแสงสว่าง คลื่นยูวี และคลื่นอืนๆ รังสีอินฟาเรดในแสงแดดอยู่ระหว่างช่วงคลื่น 750-2500 nm ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 50% ของพลังงานจากแสงแดด ประเด็นสำคัญคือรังสีอินฟาเรดมีผลต่อระบบประสาทรับรุ้ความรู้สึกร้อนของมนุษย์ โดยจากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า รังสีอินฟาเรดทำให้โปรตีนที่ทำหน้าที่เปิดปิดการนำกระแสไฟฟ้าไปยังสมองส่วนรับรู้ความรู้สึกร้อนให้ทำงาน ดังนั้นเมื่อฟิล์มเซรามิค ECOBLUE ลดอินฟาเรดได้มากสูงสุดถึง 99% จึงทำให้คนรู้สึกร้อนน้อยลงได้อย่างทันที แสงสว่างในแสงแดดสามารถเปลี่ยนเป็นความร้อนได้เช่นกันแต่ใช้เวลานานกว่า ดังนั้นการใช้ฟิล์มอีโค่บลูจึงให้ทั้งความสบายและความสว่างในการขับขี่ (ดูเพิ่มเติม Solar Radiation ใน internet)
ในทางทฤษฎี การศึกษาเรื่องการลดความร้อนจากแสงแดดของวัสดุ จะดูค่า สัมประสิทธิ SHGC solar heat gain coefficient และค่า U-value เป็นหลัก แต่เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจในด้านฟิล์มกรองแสง จึงได้มีการพิจารณา การลดความร้อนรวม ซึ่งเท่ากับค่า 1-SHGC อย่างไรก็ตามสำหรับฟิล์มเซรามิคที่เน้นในส่วนการลดรังสีอินฟาเรดใช้การระบุว่าฟิล์มสามารถลดรังสีอินฟาเรดได้สูงสุดเพียงใด ซึ่งโดยทั่วไปจะพิจารณาที่ค่าการลดรังสีอินฟาเรดที่ช่วงคลื่น 900 หรือ 1400 nm ฟิล์มเซรามิคที่ลดค่าอินฟาเรดได้มาก มีแนวโน้มให้ความสบายต่อความรู้สึกได้ดีกว่าฟิล์มที่ลดรังสีอินฟาเรดน้อย เนืองจากเหตุผลทางด้านระบบประสาทรับรู้ความรู้สึก แต่ไม่ได้หมายความว่า ในแง่ของการประหยัดพลังงานโดยรวม ฟิล์มเซรามิคที่ลดค่าอินฟาเรดได้มากกว่าจะประหยัดพลังงานได้มากกว่า เนื่องจากมีหลายองค์ประกอบในการพิจารณาการลดความร้อนรวจากแสงแดด ซึ่งหากต้องการค่าที่ถูกต้อง จะต้องทดสอบโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า เครื่อง Spectrophotometer ในการวัดค่าทางพลังงานต่างๆ (ดูหัวข้อ Heat Transfer ใน internet)
ปัจจุบัน การติดตั้งฟิล์มจะเลือกจากค่าความสว่าง ซึ่งไม่ได้มีมาตรฐานใดกำกับ โดยส่วนใหญ่จะใช้ 1) ค่า % แสงส่องผ่าน 2) ค่าความเข้ม
1) % ค่าแสงส่องผ่าน เป็นค่า % ช่วงคลื่นแสงสว่างที่ผ่านกระจกติดฟิล์มในช่วง 380-750 nm ที่ผ่านมาได้มากที่สุด ฟิล์มกรองแสงที่ใช้วัสดุต่างชนิดกัน จะให้ % ค่าแสงส่องผ่านสูงสุดได้เท่ากันแต่อาจจะคนละช่วงคลื่น เช่น ฟิล์ม A % แสงผ่านสูงสุด 40% ที่ช่วงคลื่น 650 nm แต่ฟิล์ม B มี % แสงผ่านสูงสุด 40% ที่ช่วงคลื่น 700 nm
2) ค่าความเข้ม เพื่อความง่ายและสะดวกในการติดตั้งจะใช้วิธีเรียกแบบความเข้ม เช่น ความเข้ม 40, 60 หรือ 80% ซึ่งเป็นการเลือกโทนหรือความเข้มฟิล์มแบบตร่าวๆเท่านั้น ซึ่งการเรียกความเข้มของฟิล์มติดรถยนต์ไว้ 3 ระดับ คือ 40/60/80 เป็นความเข้าใจผิด และควรเรียกความเข้มของฟิล์มโดยพิจารณาค่าแสงสว่างส่องผ่าน (Visible light transmission )VLT ระดับความเข้มของฟิล์มที่ระบุ 40/60/80 จะให้ช่วงแสงส่องผ่านในระดับประมาณนี้
ติดฟิล์มรถยนต์เข้ม 40 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 40-50 %
ติดฟิล์มรถยนต์เข้ม 60 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 18-20 %
ติดฟิล์มรถยนต์เข้ม 80 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 5-10 %
ดังนั้นทางบริษัทแนะนำให้เจ้าของรถดูตัวอย่างฟิล์มจริงก่อนติดตั้ง อย่างไรก็ตาม การดูตัวอย่างฟิล์มจริงกับการติดตั้งสามารถให้สีที่แตกต่างกันได้อันเนื่องมาจากผลกระทบจากความสว่างและเฉดสีของฟิล์มส่วนอื่นๆ