LAMKOOL TECHNOLOGY 

 

 

 



แสงอาทิตย์และความร้อน
แสงอาทิตย์ประกอบด้วยรังสีหลักๆ 3 ชนิดที่ก่อให้เกิดความร้อนคือ
  • รังสีอินฟาเรด (IR) 53% (มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า)
  • รังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV) 3% (มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า)
  • แสงสว่าง ( แสงที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า Visible Light ) 44%

ความร้อนที่เกิดขึ้นจากแสงอาทิตย์เกิดจากทั้งสามส่วนรวมกัน หากต้องการกันความร้อนให้ได้ดี จะต้องกันรังสีทุกส่วนให้ได้เกือบหมด  ถ้ากระจกที่ลดความร้อนจากรังสีอินฟาเรดได้มากเพียงอย่างเดียวไม่ได้หมายความว่ากระจกนั้นสามารถลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้สูงไปด้วย เพราะรังสีอินฟาเรดเป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่ง ( ประมาณ 50% ) ส่วนหนึ่งของพลังงานของแสงอาทิตย์เท่านั้น    ในทำนองเดียวกันกระจกที่่ลดแสงสว่าง(มืด)มากๆก็ไม่ได้หมายความว่ากระจกนั้นสามารถลดความร้อนได้ดีเช่นกัน เนื่องจากกระจกอาจจะกันรังสีอินฟาเรดได้ต่ำมาก  ดังนั้นกระจกที่กันความร้อนที่ดีต้องสามารถป้องกันความร้อนได้ทั้ง "แสงสว่างและอินฟาเรด" 

ในความเป็นจริง หากเราต้องการใช้กระจกเพื่อต้องการให้แสงสว่างส่องผ่านเข้ามาในอาคารได้มากๆ เพื่อให้มีความโปร่งใสสูง กระจกที่กันความร้อนจากแสงแดดได้ดีและให้ความสว่างมากและมีแสงสะท้อนน้อยจะกันความร้อนรวมจากแสงแดดได้เพียงประมาณ 50-60% และจะเน้นกันความร้อนจากรังสีอินฟาเรดเป็นหลัก

image
image
รังสีความร้อนอินฟาเรด Infrared, IR

รังสีอินฟาเรดเป็นหนึ่งในคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่ในแสงอาทิตย์และผ่านมาถึงพื้นโลก กระจกที่ลดพลังงานจากรังสีอินฟาเรดได้สูง มีแนวโน้มว่ากระจกนั้นสามารถลดความร้อนรวมจากแสงอาทิตย์ได้สูงไปด้วย เพราะรังสีอินฟาเรดส่วนประกอบถึง 50% ของพลังงานของแสงอาทิตย์  ในทำนองเดียวกันกระจกที่่มืดก็ไม่ได้หมายความว่ากระจกนั้นสามารถลดความร้อนได้ดีเนื่องจาก กระจกอาจจะกันรังสีอินฟาเรดได้ต่ำมาก  ดังนั้นกระจกที่กันความร้อนที่ดี ต้องสามารถป้องกันความร้อนได้ทั้ง แสงสว่างและอินฟาเรด

แต่กระจกที่กันรังสีอินฟาเรดได้มากจะให้ความรู้สึกที่เย็นกว่า เนื่องจากรังสีอินฟาเรดจะกระตุ้นความรู้สึกร้อนที่ผิวหนังโดยตรง ส่วนความร้อนจากแสงสว่างต้องมีการแปรรูปจากแสงที่มองเห็นไปเป็นคลื่นความร้อนอีกรอบหนึ่ง

 

ดังนั้นกระจกที่กันความร้อนจากแสงแดดได้ดีและให้ความสว่างมาก แสงสะท้อนน้อย จะกันความร้อนรวมจากแสงแดดได้เพียงประมาณ 50-60% (และโดยส่วนใหญ่จะกันความร้อนจากอินฟาเรด) เท่านั้น ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะว่าต้องกากระจกที่ให้แสงสว่างส่องผ่านเข้ามาได้มากมีความโปร่งใส และแสงสะท้อนต่ำนั่นเอง
Spectrally Selective Technology

Spectrally Selective Technology คือเทคโนโลยีกระจกแห่งอนาคตที่สามารถเลือกให้บางส่วนของสเปกตรัมแสงอาทิตย์เข้าสู่อาคารขณะที่จะปิดกั้นส่วนของสเปกตรัมอื่นๆของแสงอาทิตย์ กระจกชนิดนี้หากมีประสิทธิภาพสูงจะยอมให้แสงสว่างผ่านมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ใน ขณะเดียวกันก็ป้องกันไม่ให้มีการถ่ายเทความร้อนจากแสงอาทิตย์มากเท่าที่จะเป็นไปได้เช่นกัน กระจกชนิดนี้ป้องกันการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ภายในอาคาร และช่วยให้ผู้พักอาศัยสามารถลดการใช้แสงไฟฟ้าได้โดยการใช้แสงแดดในเวลากลางวัน กระจกชนิดนี้ช่วยลดการใช้พลังงานและความต้องการในอาคารได้มาก กระจกชนิดนี้มีลักษณะที่โปร่งใสชัดเจน ให้แสงส่องผ่านในเวลากลางวันมาก ให้มุมมองสำหรับทิวทัศน์ภายนอกที่มากกว่า ในขณะที่สามารถให้การประหยัดพลังงานได้เหมือนกระจกสะท้อนแสงที่เป็นเทคโนโลยีเก่า

จากรูป  เส้นสีแดงคือ % การส่องผ่านของคลื่นดวงอาทิตย์ที่ความถี่ต่างๆเมื่อผ่าน  "กระจกธรรมดา" โดยคลื่นที่ความยาวคลื่นต่างๆกันจะสามารถส่องผ่านกระจกได้ในปริมาณมากน้อย ต่างกัน เช่น คลื่นที่ช่วงความยาวคลื่น 500 นาโนเมตร (แสงสว่าง) จะสามารถส่องผ่านกระจกได้ถึง 85%  คลื่นที่ช่วงความยาว 1000 นาโนเมตร (รังสีอินฟาเรด) ส่องผ่านกระจกได้ถึง 70% 

กราฟสีน้ำเงินคือ % การส่องผ่านของคลื่นดวงอาทิตย์ที่ความถี่ต่างๆเมื่อผ่านกระจก LAMKOOL ที่มีคุณสมบัติคัดกรองรังสีโดยจะเห็นว่า คลื่นช่วงความยาวคลื่นระหว่าง 380-780 นาโนเมตร จะสามารถผ่านไปได้ค่อนข้างมากในระดับ 50-70% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแสงสว่างสามารถส่องผ่านได้สูงพอสมควร แต่คลื่นช่วงความยาวคลื่นระหว่าง 780 นาโนเมตร จะสามารถผ่านไปได้ค่อนข้างน้อยลงเรื่อยๆ เช่น ที่ความยาว 1000 นาโนเมตร ผ่านได้20 % และที่ระดับ 1500 นาโนเมตรผ่านได้เพียง 10% และเกือบ 0% ที่ 2000 นาโนเมตรเป็นต้นไป  ดังนั้นกระจกนี้จะมีประสิทธิภาพในการลดความร้อนดีกว่ากระจกธรรมดา
 
จากรูป 2  เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกราฟสเปกตรัมของแสงอาทิตย์ที่ผ่านกระจกชนิดต่างๆหลายชนิดพบกว่า กระจก LAMKOOL สามารถตัดรังสีความร้อนอินฟาเรดได้ดีที่กว่า กระจกธรรมดา กระจก LowE และกระจกสะท้อนแสง ดังนั้นการใช้กระจก LAMKOOL จึงให้ความรู้สึกที่เย็นสบายกว่า (ดูเพิ่มเติมรัสีอินฟาเรดกับความรู้สึกร้อนได้ที่นี่) อย่างไรก็ตามหากคำนึงถึงค่าการประหยัดพลังงานที่เกี่ยวเนื่องกับภาระในการทำความเย็นจะต้องคำนึงถึงผลกระทบจากความร้อนในส่วนต่างๆให้ครบถ้วน
image
Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy