ก่อนซื้อ ดูคุณสมบัติ(สเป๊ค) ฟิล์มกรองแสงและกระจกประหยัดพลังงาน

Last updated: 22 Aug 2021  |  3161 Views  | 

LKgraph1

- ค่าแสงส่องผ่าน (Visible Light Transmittance/VLT)

 ค่าพลังงานแสงในช่วงคลื่น(380-780) ที่สามารถผ่านกระจก(หรือฟิล์ม) หารด้วยค่าพลังงานแสงในช่วงคลื่น(380-780) ที่ส่องไปที่กระจก(หรือฟิล์ม)   ค่านี้ยิ่งมาก ฟิล์มยิ่งสว่าง แต่ค่านี้ไม่ใช่ค่าความเข้มหรือความสว่างที่เรียกกันทั่วไปว่า ฟิล์ม 40% 60% 80%  

 

-ค่าแสงสะท้อน   (Visible Light Reflectance /VLR)

ค่าพลังงานแสงในช่วงคลื่น(380-780) ที่สะท้อนผิวกระจก(หรือฟิล์ม) หารด้วยค่าพลังงานแสงในช่วงคลื่น(380-780) ที่ส่องไปที่กระจก(หรือฟิล์ม)   ค่านี้ยิ่งมาก ผิวจะมีลักษณะเป็นกระจกเงาสะท้อน หรือที่เรียกว่าฟิล์มปรอท  ฟิล์มเซรามิคค่านี้จะต่ำกว่า 10% เงาสะท้อนจะเริ่มชัดเจนเมื่อค่านี้ประมาณ 13-15% 

 

- พลังงานแสงอาทิตย์ผ่าน (Total Solar Transmittance/TST)


ค่าพลังงานแสงในช่วงคลื่น(300-2100) ที่สามารถผ่านกระจก(หรือฟิล์ม) หารด้วยค่าพลังงานแสงในช่วงคลื่น(300-2100) ที่ส่องไปที่กระจก(หรือฟิล์ม)    แต่ค่านี้ ไม่ใช่ค่าความร้อนที่ผ่านทั้งหมด เพราะกระจกเวลาร้อนจะมีการคายความร้อนด้วย

 

-พลังงานแสงอาทิตย์สะท้อน (Total Solar Reflectance/TSR)

ค่าพลังงานแสงในช่วงคลื่น(300-2100) ที่สะท้อนกระจก(หรือฟิล์ม) ออกมาด้านนอก หารด้วยค่าพลังงานแสงในช่วงคลื่น(300-2100) ที่ส่องไปที่กระจก(หรือฟิล์ม)    

 

-พลังงานแสงอาทิตย์ดูดซับ (Total Solar Absorption/TSA)

ค่าพลังงานแสงในช่วงคลื่น(300-2100) ที่ถูกกระจก(หรือฟิล์ม) ดูดซับเอาไว้ หารด้วยค่าพลังงานแสงในช่วงคลื่น(300-2100) ที่ส่องไปที่กระจก(หรือฟิล์ม)     ซึ่งเท่ากับ  1 - .TSR - .TST ค่านี้จะมีคุณสมบัติพ่วงตามมาด้วย เพราะเมื่อกระจกดูดซับความร้อนแล้ว กระจกจะคายความร้อนออกมา อีกครั้ง ซึ่งการคายความร้อนออกมานี้อาจไม่เท่ากันระหว่างกระจก 2 ด้าน


-  ความร้อนจากรังสีอาทิตย์ส่งผ่าน (solar heat gain) 

ค่าพลังงานแสงอาทิตย์ที่รวมส่วนที่ ความร้อนผ่านโดยตรง +  ความร้อนที่คายเข้าไปด้านในหลังการดูดซับ 

 

 - สัมประสิทธิ์การบังแดด (Shading Coefficient/SC)

 ค่า solar heat gain ของกระจก(หรือฟิล์ม) หารด้วยค่า solar heat gain ที่ส่องไปที่กระจกใส  มีค่าระหว่าง 0-1  คิดง่ายๆก็คือ เทียบว่ากระจก/ฟิล์ม ลดความร้อนเทียบกับกระจกใส 3 มม เป็นอย่างไร ซึ่งค่านี้ จะบอกค่าความร้อนเฉพาะส่วนของกระจกเท่านั้น ไม่รวมกรอบหรือเฟรม ดังนี้น จึงมีการปรับปรุงค่าใหม่ คือ ค่าสัมประสิทธิ์ส่งผ่านความร้อนจากรังสีอาทิตย์ผ่าน Solar heat gain coefficient/SHGC

 

- สัมประสิทธิ์ส่งผ่านความร้อนจากรังสีอาทิตย์ผ่าน (Solar heat gain coefficient/SHGC)

ค่าความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ผ่านกระจก(รวมความร้อนส่วนที่คายออกมาด้วย) เมื่อเทียบกับความร้อนจากแสงอาทิตย์ทั้งหมด  

 

- ค่าการลดความร้อนรวม (Total Solar Energy Rejected/TSER)

ค่าความร้อนที่กระจก/ฟิล์มลดไ่ม่ให้ผ่านไป ซึ่งจะรวม ค่าความร้อนที่สะท้อนออก + ค่าคายความร้อนออกมาด้านนอกหลังการดูดซับ หรือ เท่ากับ 1- SHGC โดยประมาณ


 -ค่าลดรังสีอินฟาเรด (Infrared Rejection/IRR)

จริงๆแล้วค่านี้ไม่ได้มีใช้กันเป็นทางการ แต่ใช้เพื่อความสะดวกในการระบุประสิทธิภาพของฟิล์มต่อ"ความรู้สึก" อย่างง่ายๆ  รวมไปถึงคาดการณ์รูปกราฟของฟิล์ม เพราะระบบประสาทที่ผิวหนัง ไวต่อ รังสีอินฟาเรดในช่วง 900-1400 จึงใช่ค่า IRR ที่จุด "900" และ "1400" เป็นจุด ค่า IRR ที่ 900 และ 1400 nm ควรประมาณ 90-95% เพื่อจะได้กระจก/ฟิล์ม "ที่ให้ความรู้สึกเย็น"

"แต่ค่าการลดรังสี IRR มากกว่า ไม่ได้หมายความว่า ลดความร้อน ได้มากกว่า"  เพราะการลดความร้อนรวมต้องพิจารณาจากค่า TSER อย่างไรก็ตาม หาก ค่าความสว่าง ค่าสะท้อน เท่ากัน ถ้าฟิล์ม A มีค่า IRR มากกว่า มีแนวโนิมที่จะมีค่า TSER มากกว่าหรือลดความร้อนได้ดีกว่า

 

-ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน  (U-factor /U-value)

ค่านี้บอกถึงการนำความร้อนผ่านเนื้อกระจก หรือ"ค่าความเป็นฉนวน" ซึ่ง สำหรับฟิล์มเซรามิค จะไม่ค่อยมีค่าแตกต่างกัน แต่หากเป็นฟิล์มเคลือบโลหะ ค่านี้จะต่างกัน ขึ้นกับชนิดของโลหะที่นำมาเคลือบ แต่ค่านี้ สำหรับเมืองร้อนส่งผลต่อความร้อนรวมค่อนข้างน้อย  เราจะให้นำหน้กการพิจารณาไปทางค่า SHGC มากกว่า  เพราะเทคโนโลยีที่ทำให้ ค่า U-value น้อยลงอย่างมีนัยสำคัญมีต้นทุนสูงอาจจะไม่คุ้มกับการลดความร้อนที่ได้สักเท่าไหร่

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy