Last updated: 30 ธ.ค. 2566 | 27847 จำนวนผู้เข้าชม |
ช่วงนี้พอดีมีโฆษณาเกี่ยวกับกระจกโลวอี เลยขอนำผู้อ่านมารู้จักกับกระจกชนิดนี้จะได้ไม่ตกยุค
กระจกโลวอี Low-E, Low E, Low emissivity เป็นกระจกที่มีมายาวนานกว่า 30 ปีในประเทศเมืองหนาว แต่มาเริ่มเป็นที่นิยมใช้กันในเมืองไทยใน 2-3 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่มีการรณรงค์เรื่องการลดความร้อนในอาคาร และลดการใช้กระจกสะท้อนแสง รวมถึงราคากระจกจากประเทศจีนที่มีราคาถูกมากได้นำเข้ามา ซึ่งลักษณะการกระจกโลวอีมีหลากหลายแบบ และบางชนิดมีข้อจำกัด ไม่ได้มีข้อดีมากมายอย่างที่เข้าใจกัน
บทความนี้ให้ข้อมูลเพื่อให้ผุ้อ่านได้มีข้อมูลในการเลือกใช้กระจกโลวอีมากขึ้น
กระจกโลวอี Low-E, Low E, Low emissivity เป็นกระจกเคลือบผิวโลหะซึ่งมีคุณสมบัติ 2 อย่างที่สำคัญ
1. กระจกจะแผ่รังสีความร้อนต่ำกว่ากระจกธรรมดา (เป็นที่มาของคำว่า Low emissivity นั่นเอง) ความร้อนในตัวกระจกจะถ่ายเทสู่อากาศที่เย็นกว่าน้อยกว่ากระจกทั่วไป
2. กระจกชนิดนี้ช่วยลดความร้อนจากแสงแดด แต่ใสสว่าง แสงสะท้อนต้ำ เพราะกระจกโลวอี ให้แสงสว่างในแสงแดดผ่านได้ แต่ป้องกันรังสีความร้อน (อินฟาเรด)ในแสงแดดให้ผ่านได้น้อยกว่า กระจกธรรมดา (แต่กันความร้อนได้มากหรือน้อยขนาดไหนนั้นก็ขึ้นกับประสิทธิภาพของกระจกตามสูตรการผลิต)
โลหะที่นำมาเคลือบ อาจจะเป็น อลูมีเนียม หรือเงิน แต่โลหะเงินได้รับความนิยมมากกว่าโลหะชนิดอื่นๆเนื่องจาก คุณสมบัติในการแผ่ความร้อนน้อยมาก ถ้าแบ่งกระจกโลวอี ตามวิธีการผลิตจะแบ่งได้ 2 แบบ
กระจกโลวอีแบบผิวเคลือบแข็ง hard coat low E
กระจกโลวอีแบบผิวเคลือบอ่อน Soft coat low E
กระจกโลวอีแบบผิวเคลือบแข็ง hard coat low E
ผลิตด้วยวิธีพ่นไอโลหะร้อนไปทำปฏิกิริยาเคมีแล้วฝังตัวบนผิวกระจกที่ยังร้อนอยู่ ซึ่งวิธีเคลือบผิวแบบแข็งนี้้องทำตั้งแต่ขบวนการผลิตกระจกแผ่นเรียบ float glass
ดุวิธีการผลิตกระจกแผ่นเรียบได้ที่
ข้อดีของกระจกโลวอีแบบผิวเคลือบแข็ง
มีความสว่างค่อนข้างสูง ประมาณ 80% ผิวเคลือบแข็งแรง ทำให้กระจกโลวอีชนิดนี้สามารถนำกระจกไปแปรรูปอย่างอื่นได้เช่น อบแข็งเทมเปอร์ ลามิเนต และที่สำคัญ "สามารถใช้เป็นกระจกแผ่นเดี่ยวได้” โดยไม่เป็นสนิมโลหะ
ข้อด้อยของกระจกโลวอีแบบผิวเคลือบแข็ง
-เนื่องจากข้อจำกัดในการผลิตทำให้จำนวนชั้นโลหะที่เคลือบบนกระจกมีน้อย ผลที่ได้คือกระจกชนิดนี้ลดความร้อนจากแสงแดดได้"ต่ำ"เมื่อใช้ในเมืองร้อน ลดความร้อนได้เพียง 15% เท่านั้น การใช้กระจกเขียวประหยัดพลังงานอาจได้ผลดีกว่า
-กระจกโลวอีแบบเคลือบแข็งลดรังสีความร้อนจากแสงแดดได้น้อย แต่กักความร้อนในอาคารได้ดี ดังนั้น การใช้งานเมืองร้อนจะได้ประสิทธิภาพไม่ตรงการใช้งาน
-ผิวกระจกต้องโดนอากาศเพื่อประสิทธฺิิภาพการลดความร้อน การทำความสะอาดต้องระมัดระวัง ไม่ให้เกิดรอย หรือปฏิกิริยาเคมี
กระจกโลวอีแบบผิวเคลือบอ่อน Soft coat low E
หลักการณ์คือ กระจกถูกป้อนเข้าไปในด้านล่างของห้องที่เป็นสูญญากาศและมี ขั้วแม่เล็กไฟฟ้าอยู่บนและล่าง โดยแท่งโลหะจะอยู่ด้านบน แก๊สอากอนจะถูกปล่อยในห้องและถูกเหนี่ยวนำให้กลายเป็นประจุไฟฟ้า ประจุอากอนจะถูกดูดขึ้นด้านบน ด้วยสนามแม่เหล็กกระแทกโมเลกุลแท่งโลหะตกลงมาฝังตัวเคลือบบนผิวกระจก
ข้อดีของกระจกโลวอีแบบผิวเคลือบอ่อน
กระจกโลวอีแบบนี้จะถูกเคลือบภายหลังด้วยวิธี เคลือบแบบแม่เหล็กไฟฟ้า ดุวิธีการผลิตกระจกได้ที่
สามารถผลิตกระจกโลวอีที่มีประสิทธิภาพได้หลากหลาย จากชนิดของโลหะ และจำนวนของโลหะที่ใช้ โดยผิวเคลือบสามารถทำได้ตั้งแต่ 5-13 ชั้น ซึ่งจะเรียกกันว่า
single low E สำหรับเคลือบเงิน 1 ชั้น และผิวเคลือบรวม 5 ชั้น
double low E สำหรับเคลือบเงิน 2 ชั้น และผิวเคลือบรวม 9 ชั้น
Triple Low E สำหรับเคลือบเงิน 3 ชั้น และผิวเคลือบรวม 13 ชั้น
ข้อด้อยของ กระจกโลวอีแบบ soft coat
จากที่กล่าวมา ดังนั้น อากาศในประเทศไทยไม่เหมาะกับการใช้กระจกโลวอีเคลือบแข็ง เพราะกันความร้อนไม่เพียงพอ แต่การใช้งานกระจกดับเบิ้ลหรือทริปเปิ้ลโลวอี ก็มีข้อด้อยเรื่องความหนาและส่งผลถึง เฟรมที่ต้องใช้ ทำให้ราคาในการใช้งานสูงมากยิ่งขึ้น ไม่เหมาะสำหรับอาคารเล็กเช่นบ้านพักอาศัย
ทางเลือกกระจกประหยัดพลังงานทดแทนกระจกโลวอี
บริษัทแอทซิสได้พิฒนากระจก LAMKOOL ที่โดดเด่นลดความร้อนได้เหนือกว่ากระจกโลวอี และมีแสงสะท้อนต่ำ ประสิทเธิภาพใกล้เคียงกระจกโลวอีแบบดับเบิ้ลหรือทริปเปิ้ลโลวอี แต่มีความหนาน้อยกว่า ให้ความแข็งแรงปลอดภัย และลดปัญหาความหนาของการติดตั้ง รวมถึงลดต้นทุนการใช้งาน สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
บทความน่าสนใจ: การพัฒนากระจกโลวอีแบบกึ่งเคลือบอ่อนที่สามารถทำลามิเนตได้
8 มิ.ย. 2566
19 เม.ย 2564