กระจกนิรภัยและกระจกประหยัดพลังงานอื่นๆ

กระจกลามิเนต LamGlaz

LamGlaz เป็นกระจกนิรภัยหลายชั้น(โดยปกติ 2 ชั้น) ที่ผลิตโดยการประกบกระจกหลายแผ่นโดยมีแผ่นฟิล์ม PVB ที่ มีความหนา 0.015 นิ้วถึง 0.030 นิ้ว คั่นอยู่ระหว่างชั้นกระจก LamGlaz สามารถถูกออกแบบให้มีความปลอดภัยได้หลายระดับตั้งแต่เพื่อความปลอดภัยจาก อุบัติเหตุจนกระทั่งรับแรงระเบิด แต่โดยทั่วไป LamGlaz ที่ความหนาเพียง 6 มิลลิเมตรไม่สามารถทนการกระแทกอย่างรุนแรงได้นาน ใช้มากในอุตสาหกรรมกระจกหน้ารถยนต์สมัยใหม่ทั่วไป  แต่อาจมีการหลุดร่อนของชั้นกระจกให้เห็น 
กระจก LamGlaz มีความปลอดภัยกว่า กระจกธรรมดาในเรื่องเศษกระจกที่แตกจะถูกยึดเอาไว้แต่ความแข็งแรงของกระจก นิรภัยหลายชั้นจะเทียบเท่ากระจกธรรมดาที่ความนาขนาดเท่ากับกระจกชั้นเดียว ที่เป็นส่วนประกอบของกระจกหลายชั้น เพียงแต่ยากต่อการทะลุอันเนื่องมาจากความแข็งแรงของ ชั้น PVBข้อ พึงระวังในการใช้งาน ในบางครั้งมีการใช้กระจกชนิดนี้หลายๆชั้นเพื่อผลิตเป็นกระจกกันภัย แต่อย่างไรก็ตามมีข้อจำกัดด้านความหนาที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงน้ำหนักทำให้ส่งผลกระทบถึงโครงสร้างเฟรมที่ใส่กระจกของอาคาร รวมถึงอุปกรณ์ยึดจับกระจกต่างๆ หรือและเมื่อถูกกระแทกจนกระจกแตก จะปรากฎการแตกร้าวทั้งด้านในและด้านนอก ซึ่งเศษกระจกที่แตกด้านใน อาจเป็นอันตรายต่อคนในอาคารได้

กระจกเทมเปอร์  TemGlaz

กระจกเทมเปอร์ TemGlaz เป็นกระจกที่มีความแข็ง หรือสามารถต้านทานแรงกระแทกได้มากกว่ากระจกธรรมดาประมาณ 4 เท่า ส่วนใหญ่ใช้เป็นกระจกห้องน้ำ หรือ กระจกบานเปลือยขนาดใหญ่ เนื่องจากกระจกมีความแข็งตัวสูงทนการบิดตัวโดยไม่แตกร้าวได้ดีกว่ากระจกธรรมดา ลักษณะการแตกของกระจก TemGlaz จะแตกเป็นเม็ดข้าวโพดและแตกหมดทั้งบานซึ่งต่างจากการแตกของกระจกธรรมดาที่จะเป็นรอยวิ่ง กระจกชนิดนี้ผลิตขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยไม่ให้มีการบาดเจ็บจากกระจกที่แตกมากกว่า การป้องกันกันภัยจากแรงภายนอก
ข้อพึงระวังในการใช้งานคือ ความเครียดที่ผิวกระจกหรืออนุมูลสารเคมีในกระจก ซึ่งเกิดมาจากกระบวนการผลิต อาจเป็นสาเหตุทำให้กระจกแตกได้เองเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย (spontaneous breakage) จึงไม่ควรนำมาใช้เป็นกระจกราวบันไดเปลือย หรือกระจกหลังคา หรือนำมาใช้เป็นกระจกกันขโมย เพราะกระจกจะแตกจะแตกหมดทั้งแผ่นได้โดยง่ายทำให้ง่ายต่อการที่อาชญากรจะใช้ เป็นช่องทางเข้าไปในบ้าน หรือรถยนต์

กระจกฮีทสเตรงเทน

เป็นกระจกที่มีการผลิตคล้ายกระจกเทมเปอร์ ความแข็ง หรือสามารถต้านทานแรงกระแทกได้มากกว่ากระจกธรรมดาประมาณ 2 เท่า ส่วนใหญ่ใช้เป็นกระจกห้องน้ำ หรือ กระจกบานเปลือยขนาดใหญ่ เนื่องจากกระจกมีความแข็งตัวสูงทนการบิดตัวโดยไม่แตกร้าวได้ดีกว่ากระจกธรรมดา ลักษณะการแตกของกระจก จะแตกเป็นชิ้นใหญ่ทั้งบาน แต่จะมีคมน้อย ซึ่งต่างจากการแตกของกระจกธรรมดาที่จะเป็นรอยวิ่ง กระจกชนิดนี้ผลิตขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยไม่ให้มีการบาดเจ็บจากกระจกที่แตกมากกว่า การป้องกันกันภัยจากแรงภายนอก
ช่วยลดปัญหาการระเบิดแตกจากความเครียดที่ผิวกระจกหรืออนุมูลสารเคมีในกระจก  (spontaneous breakage) 

กระจกฉนวนอากาศ

กระจกประหยัดพลังงานชนิดฉนวนอากาศกันความร้อน ลดความร้อนจากอากาศร้อนผ่านเนื้อกระจก IGผลิตจากการนำกระจก 2 แผ่นขึ้นปมาประกอบกันและยึดกับขอบเฟรมเพื่อให้เกิดช่องว่างอากาศอยู่ตรงกลาง และบรรจุสารดูดความชื้นไว้ในขอบของเฟรม ลักษณะการใช้งานบางประเภทอาจมีการเติมก๊าซพิเศษเข้าไปในช่องว่างอากาศ  เพื่อเพิ่มคุณลักษณะที่ดีขึ้นในเรื่องของการควบคุมอุณหภูมิและการลดเสียงรบกวน 

กระจก Low-E

กระจกโลวอี Low-E, Low E, Low emissivity เป็นกระจกเคลือบผิวโลหะซึ่งงมีคุณสมบัติ 2 อย่างที่สำคัญ  กระจกจะแผ่รังสีความร้อนต่ำกว่ากระจกธรรมดา (เป็นที่มาของคำว่า Low emissivity นั่นเอง) ความร้อนในตัวกระจกจะถ่ายเทสู่อากาศที่เย็นกว่าน้อยกว่ากระจกทั่วไป 
กระจกชนิดนี้ช่วยลดความร้อนจากแสงแดด แต่ใสสว่าง แสงสะท้อนต้ำ เพราะกระจกโลวอี ให้แสงสว่างในแสงแดดผ่านได้ แต่ป้องกันรังสีความร้อน (อินฟาเรด)ในแสงแดดให้ผ่านได้น้อยกว่า กระจกธรรมดา  (แต่กันความร้อนได้มากหรือน้อยขนาดไหนนั้นก็ขึ้นกับประสิทธิภาพของกระจกแต่ละสูตรการผลิต)

กระจกสะท้อนแสง  Refelctive

เป็นกระจกที่มีการเคลือบผิวด้วยโมเลกุลของโลหะชนิดต่างๆ เช่น สแตนเสล เงิน ทองแดง ไททาเนียม นิเกิล เพื่อช่วยสะท้อนคลื่นรังสีดวงอาทิตย์ โดยจะมีลักษณะคล้ายกับกระจกเงา มีสีสรรให้เลือกหลายเฉด เช่น น้ำเงิน เขียว ทอง ปัจจุบัน การใช้กระจกชนิดนี้ลดน้อยลง เนื่องจากมีข้อห้ามด้านค่าแสงสะท้อน และเกิดการรบกวนผู้ที่อาศัยอยู่โดยรอบ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้