ECOBLUE MAX ECB


ฟิล์มเซรามิค ECOBLUE  รุ่น MAX ECB รุ่นพิเศษที่พัฒนาขึ้นมาสำหรับจำหน่ายเฉพาะรถใหม่จาก  "ศูนย์จำหน่ายรถยนต์เท่านั้น" เพื่อให้เจ้าของรถได้มั่นใจว่ารถของคุณได้รับฟิล์มที่ดีที่สุดทันทีที่ซื้อ และสำหรับเจ้าของรถยนต์ที่ต้องการเทคโนโลยีการลดความร้อนที่เหนือกว่าฟิล์มกรองแสงทั่วไป ด้วยชั้นนาโนเซรามิคหลายชั้นที่ลดรังสีความร้อนจากแสงแดด(อินฟาเรด)สูงสุดกว่า 95% พร้อมวัสดุโพลีเมอร์และผิวเคลือบแข็งชนิดใสพิเศษ crystal clear  ให้คุณเย็นสบาย ใสสว่างได้ทันทีที่ขับรถออกจากศูนย์ 
ตารางค่าประสิทธิภาพ
 
ECOBLUE MAX  ECBMAX ECB-70MAX ECB-40MAX ECB-20MAX ECB-05
แสงส่องผ่าน%7637157
แสงสะท้อน%11888
พลังงานแสงอาทิตย์ผ่าน%4020107
พลังงานแสงอาทิตย์สะท้อน%9777
พลังงานแสงอาทิตย์ดูดซับ%51738386
ลดรังสียูวี%99999999
ลดความร้อนรวม%50576365
ลดรังสีอินฟาเรด%>95>95>95>95
SHGC0.500.430.370.35 
U-value5.55.55.55.5 

ค่าทดสอบกระจกใสหนา 3  มม ติดตั้งฟิล์ม ทดสอบตามมาตรฐาน ISO9050:1990(E) LBNL OPTIC 5.1 และ  NFRC 100-2010 summer LBNL window 7.6 ค่าที่ระบุไว้ใช้เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงในการเลือกใช้เท่านั้น ค่าประสิทธิภาพจริงอาจแตกต่างไปจากการใช้งานจริงและความคลาดเคลื่อนในการผลิต

image
ค่าส่องผ่านรังสีดวงอาทิตย์ของฟิล์ม ECOBLUE รุ่น MAX ECB-70
maxecb40graphmark
ค่าส่องผ่านรังสีดวงอาทิตย์ของฟิล์ม ECOBLUE รุ่น MAX ECB-40
maxecb20graphmark
ค่าส่องผ่านรังสีดวงอาทิตย์ของฟิล์ม ECOBLUE รุ่น MAX ECB-20
maxecb05graphmark
ค่าส่องผ่านรังสีดวงอาทิตย์ของฟิล์ม ECOBLUE รุ่น MAX ECB-05

FAQ

           เนื่องจากฟิล์มเซรามิคบางรุ่นก่อนปี 2562 มีการใช้เทคโนโลยีการปั่น Grinding ผงเซรามิคให้มีขนาดเล็กระดับนาโนเมตร เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการลดความร้อนในแสงแดดสูงมากที่สุด เพื่อความเย็นสบาย  ทำให้บางครั้งหลังติดตั้งใหม่ๆในช่วงแรกอาจมีความฝ้ามัว อันเนื่องมาจากเกิดการกระเจิงแสงผ่านน้ำยาติดตั้งที่ยังค้างอยู่ในชั้นฟิล์ม  ซึ่งอาการฝ้ามัวเหล่านี้จะค่อยๆดีขึ้นเมื่อน้ำยาติดตั้งแห้งสนิท อาจจะใช้ระยะเวลา  4-12 สัปดาห์

เมื่อน้ำยาแห้งสนิทแล้ว จะสังเกตุได้ว่าในตอนมืดกระจกจะมีความใสชัดเจน  และสำหรับกลางวันกระจกอาจมีลักษณะฝ้ามัวเล็กน้อยได้ในบางขณะเมื่อโดนแสงแดดในบางมุม  ซึ่งเป็นลักษณะปรกติของฟิล์มเซรามิคที่ใช้เทคโนโลยีแบบ Gringing

แต่ในปัจจุบัน 2566 ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น ฟิล์มเซรามิคมีความใสในระดับดีมาก และไม่พบปัญหาฝ้ามัว

       

หลอดไฟสีแดงหรือหลอดอินฟาเรดนั้น จะปล่อยรังสีอินฟาเรดในบางช่วงคลื่นออกมา ซึ่งขึ้นกับการผลิตว่าเป็นช่วงคลื่นใด ซึ่งจะแตกต่างจากความร้อนของแสงอาทิตย์ในเวลาขับรถค่อนข้างมาก ยกตัวอย่างเช่น หลอดอินฟาเรด OSRAM 250w จะปล่อยช่วงคลื่นรังสีอินฟาเรดส่วนใหญ่เฉพาะในช่วง 1100 nm ในขณะที่แสงแดดมีค่าอินฟาเรดตั้งแต่ 750-2500 nm ซึ่ง หากฟิล์มใดสามารถลดรังสีอินฟาเรดในช่วง 1000 nm นี้ได้มาก ผู้ทดสอบจะรู้สึกเย็น

การทดสอบเช่นนี้คล้ายกับการวัดฟิล์มด้วย spectrophotometer แบบพกพา คือเป็นการแสดงประสิทธิภาพของฟิล์มอย่างง่ายๆ แต่จะแม่นยำน้อยกว่าการใช้มิเตอร์



ต้องยอมรับว่า ในเมืองไทย กรุงเทพ ฝุ่นละอองเยอะ โดยเฉพาะในบางสถานที่ ในการติดตั้งฟิล์ม สามารถมีเม็ดฝุ่นเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย แม้ว่าจะติดตั้งในห้องปิด เพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่น เช่น ฝุ่นที่อยู่ในรถ หรือตามซอกขอบประตู ที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้หมด 100% ซึ่งฝุ่นผงละเอียดเหล่านี้สามารถปลิวฟุ้งขึ้นมาติดบนกระจกได้ในขณะที่ติดตั้ง

และฝุ่นเหล่านี้อาจจะมองไม่เห็น หากใช้ฟิล์มที่มีความสว่าง 60-70% แต่หากติดฟิล์มที่มีความเข้มมากๆ จะเห็นฝุ่นละอองเหล่านี้ได้มากขึ้น

และหากฟิล์มมีความหนามากขึ้น เช่น 2 มิว เม็ดฝุ่นจะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากความหนาของฟิล์มทำให้ไม่สามารถเก็บรายละะเอียดให้เล็กลงได้ 

ดังนั้น ร้านติดตั้งจะไม่ได้ให้การรับประกันเปลี่ยนฟิล์มสำหรับในกรณีที่เกิดฝุ่นละอองติดอยู่ที่ฟิล์มบ้าง

กาวบนฟิล์มกรองแสงถูกออกแบบมาเพื่อให้ยึดติดกับฟิล์มกระจกได้ดี แต่บนผิวอื่นๆเช่น สีสกรีน ไข่ปลา กาวอาจจะติดหรือไม่ติดก็ได้ 

ดังนั้นอาจเกิดปัญหาฟิล์มหลุดลอกบริเวณไข่ปลาด้านหน้าช่วงกระจกมองหลัง หรือที่บริเวณขอบกระจก

แต่หากสกรีนไข่ปลาของกระจกด้านหน้าอยู่ในระหว่างชั้นกระจก ปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น

ดังนั้นการหลุดลอกของฟิล์มบริเวณไข่ปลาถือเป็นเรื่องปรกติ ซึ่งแก้ไขได้โดย 

ทากาว หรือกรีดฟิล์มบริเวณนั้นออกไป


ในการติดตั้งฟิล์มบางครั้ง เนื่องจากบริเวณเส้นไล่ฝ้า พื้นผิวจะนูนสูงขึ้นมาสูงกว่าผิวกระจก และกาวที่ติดตั้งฟิล์มไม่สามารถติดบริเวณเส้นไล่ฝ้าเหล่านี้ได้ ทำให้เกิดช่องอากาศ ซึ่งหลังจากติดตั้งฟิล์มใหม่ๆ ในช่องเหล่านี้จะมีของเหลวพวกน้ำยาติดตั้งที่ยังไม่แห้งขังอยู่ จึงทำให้เกิดการหักเหของแสงไฟของรถข้างหลัง และเห็นซ้อนเป็นชั้นๆ อาจมีการพล่ามัวของแสงไฟในบางโอกาส อาการเหล่านี้จะค่อยๆดีขึ้น เพราะน้ำยาที่ขังอยู่ระหว่างเส้นไล่ฝ้าจะระเหยหายไป ซึ่งลดการหักเหของแสง แต่อย่างไรก็ตามปัญหานี้ยังคงมีได้แม้ว่าฟิล์มจะแห้งตัวดีแล้ว



ในการติดตั้งฟิล์มบางครั้ง อาจเห็นรอยขาวที่บริเวณจุดไข่ปลา หรือเส้นไล่ฝ้าได้ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ สำหรับรถบางคัน บางรุ่น และฟิล์มบางชนิด เนื่องจากบริเวณจุดไข่ปลาหรือเส้นไล่ฝ้า พื้นผิวจะนูนสูงขึ้นมาสูงกว่าผิวกระจก และกาวที่ติดตั้งฟิล์มไม่สามารถติดบริเวณไข่ปลาหรือเส้นไล่ฝ้าเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ขนาดของจุดไข่ปลาและเส้นไล่ฝ้าของรถยนต์แต่ละรุ่น แต่ละแบรนด์ไม่เหมือนกัน รวมทั้งความหนาของฟิล์มที่ใช้ในการติดตั้ง ทำให้เห็นเส้นขาวนี้ได้ชัดเจนมากน้อยแตกต่างกันไป ความเข้มของฟิล์มก็มีส่วน ถ้าติดฟิล์มที่มีความเข้มมาก จะทำให้เห็นเส้นขาวนี้ได้ชัดเจนมากขึ้น

ในการติดตั้งหรือเปลี่ยนฟิล์มใหม่ หากเห็นอาการเหล่านี้ เป็นเรื่องปรกติ



มีความเป็นไปได้น้อยมาก และต้องระบุว่าค่าความร้อนดังกล่าวคือค่าอะไร ใช้วิธีการวัดค่าอย่างไร ตามมาตรฐานไหน โดยเฉลี่ยฟิล์มที่แสงสะท้อนต่ำกว่า 10% แสงผ่าน 40% ค่าการลดความร้อนรวมสูงสุดประมาณ 50-60% ส่วนแสงสว่างที่ลดลงมีผลต่อการลดความร้อนรวมค่อนข้างน้อย ฟิล์มเซรามิคอีโค่บลูถูกทดสอบด้วยการวัดค่าทางแสงและความร้อนตามมาตรฐาน ISO9050:1990(E) และ ISO 10292:1994(E) ด้วยเครื่องมือ Spectrophotometer Perkin Elmer Lamda 250

ในส่วนของการระบุค่าการลดรังสีอินฟาเรดอย่างง่ายจะเป็นการระบุเฉพาะจุดที่ช่วงคลื่น 900 หรือ 1400  nm แต่สามารถตรวจสอบกราฟสเปกตรัมของฟิล์มแต่ละชนิดได้เพื่อดูว่าฟิล์มสามารถลดอินฟาเรดในแต่ละจุดช่วงคลื่นอินฟาเรดได้มากน้อยเท่าไหร่


ความเข้าใจผิดที่แพร่หลายในการใช้สูตรคำนวณค่าความร้อนที่ฟิล์มลดได้คือ เช่น 

100% -(0.43* %ค่าแสงส่องผ่าน  + 0.54*%ค่าอินฟาเรดส่องผ่าน + 0.3*%ค่ายูวีส่องผ่าน) 

ยกตัวอย่างเช่น  ในเอกสารลงคุณสมบัติฟิล์ม แสงผ่าน 40%  ลดอินฟาเรด 90%(= ผ่าน 10%) ลดยูวี 99%  ค่าการลดความร้อนรวมจะเป็น

0.43x40% (=17.2%) +  0.54*10%(=5.4%) + 0.3*1%(=0.3)  รวมเป็นลดความร้อนได้  100-( 17.2 + 5.4 + 3) =  74.4% 

ในความเป็นจริงฟิล์มสเป๊กนี้จะมีค่าการลดความร้อนประมาณ 50-55% เท่านั้น เกิดความผิดพลาดถึง 20-25%!!!

ซึ่งหากนำฟิล์มสเป๊คนี้ไปติดตั้งใช้จริง จะรู้สึกอุ่นๆ ไม่ได้เย็นอย่างที่ตัวเลขแจ้งไว้ เพราะสมการนี้เป็นคำนวณจากค่าการลดอินฟาเรด หรือแสงสว่างส่องผ่านที่ได้มาจาก เครื่องมือที่ใช้กันทั่วไป เป็นการวัดค่าแค่บางจุด ไม่ใช่ค่าทั้งหมดชองแสงอาทิตย์ จึงเกิดความผิดพลาดอย่างมาก

ดังนั้น ฟิล์มเซรามิคอีโค่บลูที่ถูกทดสอบด้วยเครื่องมือมาตรฐานจึงให้ค่าการลดความร้อนที่ถูกต้องแม่นยำกว่า และนี่คือสาเหตุที่ทำไมค่าการลดความร้อนของอีโค่บลูน้อยกว่าฟิล์มอื่นๆ แต่ให้ความรู้สึกที่เย็นกว่า

ยังมีความเข้าใจผิด ว่าติดฟิล์มลดอินฟาเรดมากๆดีๆ แล้วต้องไม่ร้อน คำตอบคือไม่จำเป็นเสมอไป

ในความเป็นจริง ฟิล์มทำหน้าที่ลดความร้อนเข้าสู่ตัวรถ และแอร์รถยนต์ทำหน้าที่ทำความเย็น เพราะเมืองไทยเป็นเมืองร้อน ไม่เปิดแอร์ขับรถคงเหมือนอยู่ในเตาอบแน่นอน ดังนั้นแม้จะใช้ฟิล์มที่ดีที่สุดก็ยังคงร้อนได้ ถ้าแอร์ไม่ดี ปรับแอร์ไม่เหมาะสม  แต่จะรู้สึกร้อนน้อยหรือมาก และระคายเคืองผิวมากน้อยแค่ไหน  เป็นเรื่องของระบบประสาทรับรู้ส่วนบุคคล แต่ละคนรู้สึกร้อนไม่เท่ากัน เช่น คนอ้วนร้อนง่ายกว่าคนผอม คนที่ทำงานต่างกันก็มีความรู้สึกร้อนได้ต่างกัน และรวมไปถึงความร้อนที่เข้าไปในรถยังมีผลมาจากรูปแบบโครงสร้าง มุมองศา วัสดุของรถแต่ละรุ่นด้วย แต่การใช้ฟิล์มเซรามิคที่ลดอินฟาเรดมากกว่า 95% ช่วยให้รู้สึกร้อนน้อยกว่า และเย็นเร็วกว่า  

"ไม่จริง” เนื่องจากปัจจุบัน ฟิล์มเซรามิคถูกเข้าใจผิดว่า ใช้แล้วจะเย็น จริงๆแล้วแบบไม่เป็นทางการ ฟิล์มเซรามิค วัดกันที่ ค่าการลดความร้อนรังสีอินฟาเรด ซึ่งจะแยกประสิทธิภาพคร่าวๆได้ประมาณนี้

50-70%=พอใช้     70-80% =ปานกลาง     80-90% =ปานกลาง-ดี      95-99% =ดีมาก

การใช้ฟิล์มเซรามิคที่ 95% จะให้ความรู้สึกที่เย็น แตกต่างจากฟิล์มอื่นอย่างชัดเจน  แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าฟิล์มเซรามิคที่ติดตั้งไปเป็นเกรดไหน

ดูรหัสและสามารถวัดฟิล์มได้จากเครื่องมือที่มีอยู่ทีศุนย์ติดตั้งได้ทันที

เข้มนอกสว่างใน เข้มแต่เคลียร์ เป็นเทคนิกการติดตั้งฟิล์ม ที่อาศัยความแตกต่างของแสงระหว่างภายนอก และภายในของรถยนต์ทำให้  คนภายในรถเห็นภายนอกได้สว่าง แต่คนภายนอกรถเห็นภายในรถได้ยาก  โดยมีหลักคร่าวๆว่า ให้ติดฟิล์มที่แสงส่องผ่านได้มากที่กระจกบังลมหน้า เช่น 20%  ส่วนกระจกส่วนที่เหลือให้ติดฟิล์มที่แสงส่องผ่านได้น้อยเช่น 5%

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้